• เวลาทำการ : จันทร์ - ศุกร์ : 9:00 - 18:00

เกจวัดความดัน

เกจวัดความดัน

เกจวัดความดัน

เครื่องมือวัดแรงดันของของไหล (ของเหลวหรือแก๊ส) บนพื้นที่หน้าตัดหนึ่งหน่วย เช่น ปอนด์ต่อตารางนิ้ว หรือ นิวตันต่อตารางเซนติเมตร

  • วัดความดันไอน้ำ
  • วัดความดันน้ำป้อน
  • วัดความดันน้ำมัน
  • วัดความดันแก๊ส
  • ผลต่างระหว่างความดันในอากาศกับความดันในตัวหม้อไอน้ำ
เกจวัดความดันแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้
  1. เกจความดันชนิดบูร์ดอง (Bourdon pressure gage)

เกจวัดความดันชนิดบูร์ดอง มีท่อบูร์ดองเป็นส่วนประกอบ โดยมีลักษณะเป็นท่อขดทองแดงกลวง มีพื้นที่หน้าตัดเป็นวงรี ซึ่งเมื่อมีความดันเข้าไปภายในท่อ ขดบูร์ดองจะพยายามคลายตัวออกเป็นวงกลม และดึงแขนที่ต่อกับเข็มชี้หมุนเพื่อแสดงความดัน

  1. เกจวัดความดันแบบเบลโลว์ (Bellow pressure gage)

เกจวัดความดันประเภทนี้มักใช้กับแรงดันต่ำกว่า 30 psi

  1. เกจวัดความดันแบบก้นหอย (Spiral pressure gage)

เกจวัดความดันแบบก้นหอย เป็นเกจวัดความดันที่ถูกดัดแปลงมาจากเกจวัดความดันบูร์ดองมีหลักการทำงานเหมือนบูร์ดองโดยเมื่อมีความดันมากระทำ ก้นหอยจะพยายามคลายตัวออกทำให้ปลายด้านที่ปิดเคลื่อนที่ โดยระยะการเปลี่ยนตำแหน่งของเข็มชี้ค่าจะสัมพันธ์กับค่าความดันที่กระทำกับเกจวัด

เกจวัดระดับชนิดกระจกแก้ว

เกจวัดระดับชนิดกระจกแก้ว สามารถแสดงระดับของเหลวในหม้อไอน้ำได้ตลอดเวลา เกจวัดระดับควรถูกติดตั้งในหม้อไอน้ำเพื่อให้เรารู้ว่าระดับน้ำไม่ต่ำเกินกว่าจุดที่โอเวอร์ฮีท (น้อยกว่า 50 มม.) เเละควรมีอุปกรณ์ป้องกันรอบๆเกจวัดระดับเเต่ไม่ควรกีดขวางการมองเห็นระดับน้ำ

เกจวัดระดับ

เกจวัดระดับเป็นอุปกรณ์สำหรับวัดระดับของเหลวหรือเเก๊สที่อยู่ในถัง, ท่อ หรืออุปกรณ์อื่นๆที่มีการใช้งานเหมือนกัน

คุณสมบัติของเกจวัดระดับ
  • ควบคุมโดยอุปกรณ์เครื่องกลทั้งหมด
  • ไม่จำเป็นต้องใช้พลังงาน
  • สามารถอ่านค่าระดับของเหลวได้จากเกจวัดระดับ
  • เกจวัดระดับท่อ
  • เกจวัดระดับความโปร่งใส (RFG & TFG)
  • เกจวัดระดับชนิดโปร่งใส
  • เกจลูกลอยวัดระดับแบบก้าน (MLG)
  • เกจวัดระดับของเหลวด้วยตัวบอร์ด (FBG)
  • เกจวัดระดับของเหลวด้วยสายเทป (FTG)
  • เกจวัดระดับค่าความเรียบแบบแนวระนาบ (FDG)

เครื่องวัดการนำไฟฟ้าของสารละลาย

เครื่องวัดค่าการนำไฟฟ้าของสารละลายจะวัดกระแสไฟฟ้าหรือการนำไฟฟ้าในสารละลาย ค่าการนำไฟฟ้าสามารถบ่งบอกได้ถึงคุณภาพของแหล่งน้ำนั้นๆ รวมถึงสามารถวัดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการบำบัดน้ำเสียของโรงบำบัดน้ำได้ด้วย ส่วนมากจะใช้ในระบบบำบัดน้ำหรือตรวจสอบน้ำ ตลอดจนใช้ในห้องปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อม

เครื่องวัดความกระด้างของน้ำ

เครื่องวัดความกระด้างของน้ำใช้ในการวัดค่าสารอนินทรีย์และอินทรีย์ทั้งหมดที่ละลายอยู่ในน้ำ หรือก็คือทุกสิ่งที่อยู่ในน้ำยกเว้นตัวโมเลกุลของน้ำ ได้แก่ แร่ธาตุ, เกลือแร่ และสารอินทรีย์ ซึ่งสามารถบ่งบอกคุณภาพน้ำได้ การที่มีค่า TDS สูงบ่งบอกถึงความกระด้างน้ำสูงด้วย มีสาเหตุมาจากตะกรันในท่อ การสะสมของตะกรันส่งผลให้ประสิทธิภาพของน้ำต่ำลง และยังเพิ่มค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาอีกด้วย

เซ็นเซอร์ของเครื่องวัดการนำไฟฟ้าแบบสัมผัสประกอบด้วยอิเล็คโทรดสองขั้วหุ้มฉนวนแยกออกจากกัน โดยทั่วไปขั้วอิเล็คโทรดจะเป็นโลหะสแตนเลส 316, โลหะผสมไทเทเนียม-พาเลเดียมหรือกราไฟท์ด้วยขนาดและระยะที่เหมาะสม หรือเรียกว่า “ค่าคงที่ของเซลล์” ในทางทฤษฎีค่าคงที่ของเซลล์เท่ากับ 1.0 หมายถึงขั้วไฟฟ้าแต่ละอันมีพื้นที่เป็น 1 ตารางเซนติเมตรและมีระยะห่างเท่ากับ 1 เซนติเมตร

เซ็นเซอร์วัดการนำไฟฟ้าชนิดไร้ขั้วอิเล็คโทรดทำงานโดยการจ่ายกระแสไฟฟ้ากระแสสลับเข้าไปในขดลวดปฐมภูมิ ซึ่งไฟฟ้ากระแสสลับที่ขดลวดปฐมภูมิจะเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้าที่ขดลวดทุติยภูมิซึ่งมีค่าตามอัตราส่วน(Turn ratio) ของการพันขดลวดบนวงแหวนเทอร์รอย ซึ่งค่าที่ได้จะถูกนำมาแสดงในหน้าจอเครื่องมือวัด